Shure SM7dB ไมค์ร้อง บันทึกเสียง ทำพอดคาสต์ หรืองานสตรีมมิ่ง รุ่นที่ต่อยอด และได้แรงบันดาลใจจาก Shure SM7B

บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ขอแนะนำสินค้าใหม่ไมโครโฟนสำหรับบันทึกเสียง Shure SM7dB ที่ถูกต่อยอด พัฒนามาจาก Shure SM7B ไมค์รุ่นพี่ที่เป็นที่ยอดฮิตไปทั่วทั้งโลก ส่วนรายละเอียดของทั้ง รุ่นนี้ว่ามีความแตกต่างกันตรงไหนบ้าง และรุ่นไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุดอ่านต่อตามด้านล่างนี้ได้เลย

SM7B คือไอคอนด้านเสียงที่เหล่านักดนตรี พอดแคสเตอร์ และสตรีมเมอร์ชื่นชอบ เป็นไมค์ยอดนิยมที่เลือกใช้กันทั่วโลก ซึ่งไมค์รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง SM7dB ไมโครโฟนแบบไดนามิกที่ให้เอกลักษณ์เสียงระดับตำนานเช่นเดียวกัน แต่มีปรีแอมป์ที่กำหนดหรือตั้งค่าเองได้ติดตั้งมาให้ในตัว โดย Shure เป็นผู้ออกแบบและคิดค้น แล้วไมโครโฟนไดนามิกตัวไหนล่ะที่จะเหมาะกับคุณ?

เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว นับจากการเปิดตัวครั้งแรก แต่ SM7 ก็ยังคงแข็งแกร่งและเป็นอมตะมาตลอด ซึ่งตอนนี้ไมโครโฟนสุดพิเศษจากตระกูล SM7 ได้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น! กับ SM7dB รุ่นล่าสุด ที่ยังคงมีทุกคุณสมบัติที่คุณถูกใจจากรุ่น SM7B ไว้อย่างครบถ้วน แต่ได้ออฟชั่นในส่วนของ Gain ที่ติดตั้งเพิ่มมาให้ เพื่อใช้ในการบูสต์สัญญาณเสียงเพิ่ม แต่ยังสามารถถ่ายทอดเสียงที่มีเอกลักษณ์เป็นที่ประทับใจเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา

แล้วคุณควรเลือกไมค์รุ่นไหนล่ะ? ที่จริงแล้วมันขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือรูปแบบการใช้งานของคุณ แต่ไม่ต้องกังวล ในบทความนี้ เราจะเล่าถึงรายละเอียดทั้งหมด เพื่อช่วยคุณเลือกไมโครโฟนที่ยอดเยี่ยมทั้ง 2 ตัวนี้

SM7B VS SM7dB

    • SM7B คือไอคอนของไมโครโฟน เป็นที่รู้จักระดับตำนานสำหรับระบบเสียงของงาน Production ออกอากาศ ถ่ายทอดสด หรืองานสตูดิโอ ทว่า SM7B นั้น ต้องการ Clean Gain ที่ประมาณ +60dB ขึ้นไป
    • ในขณะที่ SM7dB มีปรีแอมป์จาก Shure ติดตั้งมาให้ในตัว ทำให้ SM7dB มีราคาที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับการซื้อ SM7B พร้อมกับซื้ออุปรกรณ์ปรีแอมป์เพิ่มเติมสำหรับการใช้งาน

ไมค์ SM7 เป็นที่ชื่นชอบ และถูกใจของเหล่า Sound Engineers มาตั้งแต่ปี 1970 และได้กลายเป็นไมค์มาตรฐานของวงการ Podcast ในปี 2010 ภายใต้ชื่อรุ่นที่ผลิตออกมาใหม่อย่าง SM7B ซึ่งบรรดากูรูมืออาชีพทางด้านเสียงที่ใช้ไมโครโฟนรุ่นนี้ เข้าใจตรงกันว่าไมค์นี้ได้รับการออกแบบเพื่อรับเสียงที่เน้นไปที่แหล่งกำเนิดเสียงโดยเฉพาะ เช่น เสียงร้อง หรือเสียงพูดของคุณ ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยปิดกั้นเสียงรบกวนอื่น ๆ ที่พยายามจะแทรกเข้าไปในการบันทึกเสียง หรือการทำงานของคุณได้อีกด้วย

จากนั้นก็เป็นที่นิยมของเหล่า Streamer และ Content Creater โดยที่คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวดิจิทัล ไม่ได้ตระหนักถึงว่า SM7B จะต้องใช้งานกับ Audio Interface ที่มีเกนสูงๆ หรือไม่ก็ต้องต่อเข้ากับปรีแอมป์ที่ให้ Clean Gain สูงๆ เพื่อเพิ่มสัญญาณของไมโครโฟน

เป็นที่มาของ SM7dB ที่เป็นไมค์รูปแบบใหม่ของ SM7 เดิม ที่เพิ่มเติมปรีแอมป์มาในตัว ช่วยเพิ่มคุณสมบัติทั้งหมดที่จำเป็นในการใช้งานไมโครโฟนที่ให้คุณภาพเสียงอันยอดเยี่ยมนี้ สามารถใช้งานกับอินพุตแบบ XLR ใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ต้องใช้ปรีแอมป์เพิ่มเติมหรือไม่จำเป็นต้องมี Audio Interface ราคาแพง!

ไมค์ SM7dB เป็นตัวเลือกของเหล่าสตรีมเมอร์

ด้วยลักษณะเสียงสำหรับงานออกอากาศ ถ่ายทอดสด หรืองานสตูดิโอ ที่ให้โทนเสียงอบอุ่น ซึ่ง SM7dB นั้นมีการออกแบบระบบภายในแบบเดียวกันกับ SM7B อย่างเห็นได้ชัด แต่มีความยาวที่ตัวไมค์มากว่าเดิม เพื่อรองรับในส่วนของปรีแอมป์ที่เพิ่มเข้ามาในตัว มั่นใจได้เลยว่าเหล่าวิศวกรของ Shure ได้รักษาคุณภาพของเสียงไว้อย่างดี เพื่อให้ไมโครโฟนมีเอกลักษณ์เสียงแบบดั้งเดิมเหมือนกับต้นฉบับ

คำถามเกี่ยวกับอินเตอร์เฟซ

แล้วทำไมบางคนถึงยึดติดกับ SM7B มากกว่าไมค์รุ่นใหม่อย่าง SM7dB ล่ะ? ที่จริงมีเหตุผลดีๆ มากมายว่าทำไมคุณถึงต้องเลือกมัน ประการแรกและสำคัญที่สุดคือ ผู้คนจำนวนมากมี Audio Interface คุณภาพสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังทำเพลง คุณน่าจะบันทึกหลายแทร็กไปพร้อมกัน และมีไมโครโฟนตัวหลักที่ให้เสียงที่ดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเสียงร้องหรือแม้แต่เสียงจากตู้กีตาร์ (กรณีที่เลือกใช้ไมค์ SM7B ตัวดั้งเดิม)

ในทางกลับกันก็มีเหล่าสตรีมเมอร์และเกมเมอร์อีกจำนวนมากที่ต้องการเสียงที่มีเอกลักษณ์แบบฉบับ SM7 แต่ไม่ได้ต้องการใช้งานระบบเสียงที่มีราคาแพง เพื่อจะเพิ่ม Gain ให้กับไมโครโฟนเพียงตัวเดียว หรือบางทีคุณอาจมี Interface ที่ยอดเยี่ยมและสมบูรณ์แบบที่มีช่องต่อ XLR เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของคุณอยู่แล้ว แต่ไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะขับเสียงของ SM7B ที่คุณเล็งไว้ จากทั้ง 2 กรณีนี้ ไมค์ SM7dB คือตัวเลือกที่เหมาะสมของคุณ

ข้อควรรู้ ทั้ง 2 รุ่นนี้เป็นไมโครโฟน XLR หากคุณต้องการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรง คุณจะต้องมี Interface ที่มีอินพุตเป็นช่องต่อแบบ XLR หรืออะแดปเตอร์แบบ XLR ที่แปลงเป็น USB ได้ เช่น Shure MVX2U (Audio Interface แบบดิจิตอล รุ่นใหม่ล่าสุด)

ด้านซ้าย SM7B / ด้านขวา SM7dB

มีเหตุผลที่ SM7B ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า 50 ปีหลังจากเปิดตัว คือมันถูกออกแบบมาเพื่อดึงคุณภาพสูงสุดจากเสียงของมนุษย์ ซึ่งในช่วงแรกบางคนอาจสับสนกับเอาต์พุตที่ต่ำของไมโครโฟนแบบไดนามิกตัวนี้ จนกระทั่งพวกเขาตระหนักว่ามันถูกสร้างมารูปแบบนี้โดยตั้งใจ นั่นคือสิ่งที่ทำให้ SM7B มีเอกลักษณ์เสียงที่โดดเด่นสำหรับงาน ”Broadcast” คุณจำเป็นต้องมี Gain เพิ่มอีกประมาณ 60db เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของเสียงที่เหมาะสมกับไมโครโฟนที่โด่งดังตัวนี้

ในขณะที่ความนิยมของ SM7 ได้เริ่มทำให้การใช้งานไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสตูดิโอบันทึกเสียงระดับมืออาชีพอีกต่อไป อุตสาหกรรมของผู้ผลิตอุปกรณ์ปรีแอมป์จึงได้เริ่มผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง คุณอาจคุ้นเคยกับ Cloudlifter หรือ FetHead หรืออุปกรณ์ที่ดูเหมือนแท่ง Dynamite ก็ดี ในขณะที่ Shure ได้ทำการออกแบบปรีแอมป์ในแบบเฉพาะตัวสำหรับไมค์ SM7dB ขึ้นมา ดังนั้นเอาต์พุตจึงได้รับการบูสต์ไว้ให้คุณแล้ว

อีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมคุณน่าจะชอบ SM7dB มากกว่ารุ่นดั้งเดิม ก็เพราะความสะดวกในการพกพาและเดินทางไปกับคุณ หากคุณเป็น Podcaster หรือ Content Creater ที่ต้องเดินทางบ่อยครั้ง การเลือกเอาของที่ไม่จำเป็น (เช่น ปรีแอมป์ที่พกพาได้ลำบาก) ออกจากชุดบันทึกเสียงแบบเคลื่อนที่ของคุณ ก็ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ และบางที SM7B ที่คุณไว้วางใจในการทำงาน ก็อาจจะเหมาะกับการใช้งานเฉพาะในสตูดิโอที่บ้านของคุณก็เป็นได้

เรื่องของราคา

หากคุณได้ลงทุนกับระบบเสียงไปเยอะแล้ว SM7B รุ่นดั้งเดิมจะเป็นตัวเลือกที่ประหยัดกว่าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณจะต้องบันทึกเสียงหลายๆ คนพร้อมกัน เช่น การทำพอดแคสต์ที่มีแขกรับเชิญหลายคน และต้องใช้งานไมโครโฟนหลายตัว แน่นอนว่า SM7B คือไมค์ที่คุณต้องการ

อย่างไรก็ตาม หากคุณเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น SM7dB อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณ มากกว่าการเลือกซื้อ SM7B และยังต้องซื้อปรีแอมป์เพิ่มเติมอีก หากคุณต้องการไมโครโฟนเพียงตัวเดียวสำหรับการทำงานไลฟ์สตรีมของคุณ ก็สามารถเลือกใช้ไมค์ SM7dB ได้เลย

ท้ายที่สุดแล้ว SM7 ที่คุณภาพดีเยี่ยมทั้ง 2 รุ่นนี้ จะส่งเสริมกันมากกว่าที่จะแข่งขันกันเอง ที่จริงแล้วไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะมีหลายๆ คนที่จะเป็นเจ้าของไมโครโฟนทั้งคู่อย่างแน่นอน!

แหล่งที่มา :

    • ภาพและบทความภาษาไทยคัดลอกจาก beartai.com